การงาน ของ แมรี เมลลอน

ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1900 ถึง 1907 เมลลอนทำงานเป็นแม่ครัวในพื้นที่ของนิวยอร์กให้กับเจ็ดครอบครัว[7] ในปี 1900 เธอทำงานในแมมาโรเนก นิวยอร์ก ในช่วงที่เธอได้รับการว่าจ้างนั้น ผู้คนในบ้านพักก็ป่วยเป็นไข้รากสาดน้อย ต่อมาในปี ค.ศ. 1901 เธอย้ายมาแมนฮัตตัน ครอบครัวที่เธอทำงานด้วยก็เป็นไข้และมีอาการท้องร่วง และหญิงซักผ้าเสียชีวิต เมลลอนได้ทำงานกับทนายความ และได้ออกจากบ้านไปหลังสมาชิกในบ้าน 7 ใน 8 คน ป่วย[8]

ปี ค.ศ. 1906 เมลลอนทำงานในออยสเตอร์เบย์ เกาะลอง และภายในสองอาทิตย์ สมาชิก 10 ใน 11 ครอบครัวก็ถูกส่งเข้าโรงพยาบาลด้วยโรคไข้รากสาดน้อย เธอจึงเปลี่ยนงานอีกครั้ง และเหตุการณ์เช่นนี้เกิดครั้งซ้ำอีกใน 3 ครอบครัว[8] เธอทำงานเป็นแม่ครัวให้กับครอบครัวของนายธนาคารผู้ร่ำรวยในนิวยอร์ก ที่ชื่อ ชาลส์ เฮนรี วอร์เรน เมื่อวอร์เรนเช่าบ้านในออยสเตอร์ในช่วงฤดูร้อนปี 1906 เมลลอนก็ไปด้วย และในช่วง 27 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน สมาชิก 6 คน ใน 11 คนของครอบครัวนี้ก็ป่วยเป็นโรคไข้รากสาดน้อย ซึ่งถือเป็นโรคที่ผิดปกติในแถบออยสเตอร์เบย์

การสืบสวน

ปลายปี ค.ศ. 1906 มีหนึ่งครอบครัวจ้างนักวิจัยด้านไข้รากสาดน้อย ที่ชื่อ จอร์จ โซเพอร์ เพื่อทำการสืบสวน โซเพอร์ได้เผยแพร่ผลลัพธ์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1907 ใน Journal of the American Medical Association เขาเชื่อว่า เมลลอนอาจเป็นตัวแพร่เชื้อ[9] เขาเขียนไว้ว่า

พบครอบครัวครัวหนึ่งได้เปลี่ยนแม่ครัวเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ราว 3 อาทิตย์ก่อที่โรคไข้ราดสาดน้อยจะระบาด แม่ครัวคนใหม่ เมลลอนอยู่กับครอบครัวนี้ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียง 3 อาทิตย์ ก็โรคจะแพร่ระบาด เมลลอนเป็นหญิงชาวไอริชอายุราว 40 ปี รูปร่างสูง ใหญ่ เป็นโสด ดูเหมือนเธอมีสุขภาพสมบูรณ์ดี[10]

โซเพอร์พบว่าหญิงคนนี้ เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคที่ผ่านมาทั้งหมด แต่เขาไม่สามารถระบุสถานที่อยู่ของเธอได้ เพราะเธอจะเริ่มออกจากบ้านไปเมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นมา โดยไม่ได้บอกที่อยู่ไว้ โซเพอร์ยังทราบถึงโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นในเพนต์เฮาส์บนถนนพาร์กเอเวนิว ซึ่งพบว่าเมลลอนทำงานเป็นแม่ครัว คนรับใช้ในบ้านนั้นสองคนถูกส่งเข้าโรงพยาบาล ขณะที่ลูกสาวของเจ้าของบ้านเสียชีวิต[8]

เมื่อโซเพอร์สามารถเข้าถึงเมลลอนได้แล้ว เธอปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าจะไม่ให้ตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระ[11] เขาจึงรวบรวมประวัติการว่าจ้างงานในรอบ 4–5 ปีของเธอ ก็พบว่ามี 8 ครอบครัวที่ว่าจ้างเมลลอนเป็นแม่ครัว มีคนที่ป่วยเป็นโรคไค้ราดสาดน้อย 7 คน[12] จนเมื่อเขาไปพบเธออีกครั้ง เขานำหมอไปด้วย เธอก็ปฏิเสธอีกครั้ง จนการพบในครั้งถัดมาถึงนำเธอส่งเข้าโรงพยาบาลได้ เขาบอกเธอว่า เขาจะเขียนหนังสือและให้เธอค่าสิทธิ เธอโกรธมากและปฏิเสธไป และขังตัวเองอยุ่ในห้องน้ำ จนกว่าเขาจะออกไป[13]

การกักตัวครั้งแรก (1907–1910)

แมรี เมลลอน (ข้างหน้า)

ในที่สุดกรมสุขภาพนิวยอร์ก (The New York City Health Department) ได้ส่งแพทย์ แซรา โจเซฟีน เบเกอร์ เข้าคุยกับเมลลอน เบเกอร์กล่าวว่า "ช่วงเวลานั้นเธอเชื่อว่า ได้มีการใช้กฎหมายลงโทษเธอเพราะด้านเชื้อชาติ เพราะเธอไม่ได้ทำอะไรผิดเลย" หลายวันต่อมา เบเกอร์มาในที่ทำงานของเมลลอนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายคน จับคุมขังเธอได้[ต้องการอ้างอิง]

ชื่อของเมลลอนได้รับความสนใจจากสื่อ สื่อเรียกเธอว่า "ไทฟอยด์ แมรี" (Typhoid Mary) ซึ่งตีพิมพ์เธอใน Journal of the American Medical Association ในปี 1908 ต่อมาหนังสือที่นิยามคำว่า โรคไข้สาดน้อย ก็เรียกเธออีกครั้งว่า "ไทฟอยด์ แมรี"ในที่คุมขัง เธอถูกบังคับให้ส่งตัวอย่างปัสสาวะและอุจจาระ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าให้ตัดถุงน้ำดีเธอทิ้ง เพราะเชื่อว่าเชื้อแบคทีเรียของไทฟอยด์มาจากตรงนี้[14] อย่างไรก็ตามเธอก็ยังคงปฏิเสธอ เพราะเชื่อว่าเธอไม่มีเชื้อโรค และไม่ยอมที่จะหยุดทำงานเป็นแม่ครัวด้วย[8]

สารวัตรสุขภาพนครนิวยอร์ก ลงความเห็นว่าเธอคือตัวพาหะ อ้างจากกฎบัตรเกรเตอร์นิวยอร์ก (Greater New York Charter) มาตรา 1169 และ 1170 เมลลอนถูกจับขังแยกเดี่ยวเป็นเวลาสามปีที่คลินิกแห่งหนึ่งบนเกาะนอร์ทบราเตอร์[8]

ท้ายสุด ยูจีน เอช. พอร์เตอร์ อธิบดีกรมสุขภาพแห่งรัฐนิวยอร์ก ตัดสินใจว่า ผุ้เป็นพาหะนำโรคไม่ควรจะกักขังเดี่ยว และให้ปล่อยตัวเมลลอน แต่เธอต้องยินยอมตกลงว่าจะไม่กลับไปทำงานเป็นแม่ครัวอีก และควรมีมาตรการที่ดีในการป้องกันการแพร่โรคไข้รากสาดน้อยสู่ผู้อื่น วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1910 เมลลอนตกลงที่จะเปลี่ยนอาชีพ และให้สัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเธอจะระมัดระวังด้านสุขอนามัย และพยายามไม่ให้คนที่เกี่ยวข้องกับเธอติดโรค เธอถูกปล่อยตัวออกมาและใช้ชีวิตในแผ่นดินใหญ่[15]

ปล่อยตัวและการกักตัวครั้งที่สอง (1915–1938)

หลังจากถูกปล่อยตัว เมลลอนทำงานซักผ้า ซึ่งได้รับค่าจ้างน้อยกว่าทำอาหาร หลังจากไม่ประสบความสำเร็จนักกับการทำงานซักผ้ามายาวนานหลายปี เธอเปลี่ยนชื่อมาเป็น แมรี บราวน์ และกลับไปทำอาชีพเดิมที่ถูกห้ามไว้ 5 ปีต่อมา เธอทำงานหลายที่ และทุกที่ที่เธอทำงานก็เกิดโรคไข้ลากสาดน้อย อย่างไรก็ดี เธอเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้โซเพอร์ไม่สามารถหาตัวเธอได้พบ[8]

ปี 1918 เมลลอนเริ่มแพร่โรคครั้งใหญ่ ครั้งนี้ที่โรงพยาบาลสตรีสโลนในนครนิวยอร์ก มี 25 คนติดเชื้อ และมีสองคนเสียชีวิต เธอออกจากงานอีกครั้ง แต่ตำรวจสามารถหาตัวเธอได้พบและจับตัวเธอขณะที่เธอกำลังทำอาหารให้เพื่อนอยู่ในเกาะลอง[8][15] หลังจับเธอ เจ้าหน้าที่ได้กักตัวเธออีกครั้งที่เกาะนอร์ทบราเตอร์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 1915 เธอก็ยังคงไม่ยอมตัดถุงน้ำดีทิ้ง[15]

เมลลอนใช้ชีวิตที่นั่นที่เหลือตลอดชีวิตของเธอ เธอมีชื่อเสียงและในบางครั้งก็มีสื่อมาสัมภาษณ์ สื่อไม่อนุญาตให้แม้แต่รับน้ำจากเธอ[8] ต่อมาเธอได้รับอนุญาตให้กลับมาทำงานเป็นช่างเทคนิคที่แลบบนเกาะนั้น โดยทำงานล้างขวด[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: แมรี เมลลอน http://www.straightdope.com/columns/read/1816/who-... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24714738 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/8634973 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1487781 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3959940 http://www.isbe.net/career/pdf/fcs_guide.pdf //doi.org/10.1001%2Fjama.1907.25220500025002d //www.worldcat.org/issn/0820-3946 https://www.nytimes.com/1938/11/12/archives/typhoi... https://www.youtube.com/watch?v=8JPCZOb7z2w